ก่อนหน้า3/4ถัดไป
บทที่10 เรื่องสุขภาพจิต

โรคจิต : (Psychosis)
สาเหตุของโรคจิตนั้นเกิดขึ้นได้หลายประการ ขึ้นอยู่กับโรคจิตนั้นๆ เป็นโรคจิตประเภทใด เช่น คนที่ป่วยเป็นโรคจิตแบบจิตเภท อาการของโรคจิตนั้นเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและชีววิทยา หมายความว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มีโอกาสถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้มากกว่าคนปกติทั่วๆ ไป ปัจจุบันมีการค้นคว้าวิจัยพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางสารเคมีในระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการของโรคจิตต่างๆ ยาที่ใช้รักษาโรคจิตจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงระดับของสารเคมีเหล่านี้ ให้กลับคืนมาเป็นปกติ ผู้ป่วยจึงหายจากอาการโรคจิตได้
โรคจิตบางประเภท เกิดจากการได้รับสารเคมีที่ผิดปกติเข้าไปในร่างกาย เช่น ผู้ที่เสพยาม้า หรือยาเสพติดอื่นๆ อาจเกิดอาการโรคจิตได้ มีผู้ใช้ยาม้าหลายรายเกิดอาการคุ้มคลั่ง หลงผิดหวาดระแวง คิดว่ามีผู้ตามทำร้าย ทำให้กลัวและมักจะจับเด็กเป็นตัวประกันมีให้เห็นเป็นข่าวเสมอๆ ผู้ที่ดื่มเหล้าบ่อยๆ ก็มีโอกาสเกิดอาการโรคจิต จากฤทธิ์ของเหล้าที่เข้าไปทำลายระบบประสาท
โรคจิตหรือวิกลจริตหรือบ้าเสียสติ หมายถึง โรคทางจิตเวชซึ่งเป็นรุนแรงมากจนผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ( Out of Reality) เขาจะอยู่ในโลกส่วนตัวของเขา ทำให้คนทั่วไปเข้าใจความคิดและ พฤติกรรมของเขาลำบาก
ชนิดของโรคจิต
1. ผู้ป่วยจะต้องไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ( Out of Reality) การจะบอกว่าใครไม่อยู่ในโลกของ ความเป็นจริง บุคคลนั้นจะต้องมีอย่างน้อย 1 ข้อต่อไปนี้คือ
การหลงผิด (Delusion) คือ เขาจะมีความเชื่อที่ผิดไปจากความเป็นจริง และเขาจะเชื่อความคิดนั้น อย่างมาก จนไม่สามารถอธิบายหรือแก้ไขด้วยเหตุผลและความเป็นจริง การหลงผิดนั้นบางอย่างเราฟังแล้ว จะรู้ทันทีว่าเป็นการหลงผิด เช่น ผู้ป่วยเชื่อว่าในสมองเขาถูกคนเอาคอมพิวเตอร์มาใส่แล้วเจ้าคอมพิวเตอร์นี้ จะเป็นตัวคิดแทนเขา และบังคับเอาเขาทำสิ่งต่าง ๆ ทำให้เขาต้องทำตาม หรือผู้ป่วยคนหนึ่งเชื่อว่าหลวงพ่อโต เข้ามาอยู่ในตัวเขา บังคับให้เขาต้องตีพ่อ เขาจึงตีพ่อเขา และก็มี ความหลงผิดบางอย่าง ฟังดูแล้วเหมือนจริง แต่ไม่จริง ( Well Systematized Delusion)
ประสาทหลอน (Hallucination) คือ ไม่มีสิ่งเร้า ( No Stimuli) แต่ผู้ป่วยมีการรับรู้ (Perception) อันนี้เป็นได้ทั้งทางหู ตา สัมผัส กลิ่น รส เช่น หูแว่ว ภาพหลอน รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่ตามผิวหนังทั้ง ๆ ที่ไม่มี ( Tactile Hallucination) ได้รสอาหารทั้ง ๆ ที่ไม่มีอาหารนั้นในปาก ( Gastatory Hallucination) หรือได้กลิ่นเหม็นทั้ง ๆ ที่คนอื่นที่อยู่ด้วยไม่ได้กลิ่น ( Olfactory Hallucination) ในโรคจิตนั้นเขาพบส่วนมาก เป็นหูแว่วกับภาพหลอน ทั้ง 2 อย่างนี้จะบรรยายอย่างละเอียดต่อไป ก่อนจะพูดต่อไปเราต้องแยก Incomplete hallucination ออกไปก่อนซึ่งอันนี้พบได้ในคนปกติ ได้แก่ หูแว่วหรือภาพหลอนที่เกิดในขณะใกล้หลับและใกล้ตื่น ( Hypnagorgic และ Hypnapompic Hallucination) หรือบางครั้งในภาวะที่เขากำลังสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาก ๆ เช่น กำลังรอเพื่อนแล้วได้ยินเสียงคล้ายเพื่อน เรียก พอหันไปดูก็ไม่มี หรืออาจเห็นภาพคนรักที่เรากำลังรออย่างใจจดใจจ่อ แต่พอดูดี ๆ ก็ไม่มี ภาวะเหล่านี้ คนปกติก็พบได้ แต่ต้องไม่เกิดบ่อย ถ้าพบบ่อยก็ถือว่าผิดปกติ
ใน Complete True หรือ Hallucination นั้น จะต้องเกิดขึ้นในขณะที่กำลังตื่นอยู่ (Alertness หรือ Wakening) ต้องเกิดบ่อยครั้ง ( More Than Occasionally) และถ้าเป็นหูแว่ว ต้องมากกว่าคำสองคำ ( Afew Words) คือเป็นวลีหรือประโยคถ้าพบ Complete หรือ True Hallucination ถึงจะบอกได้ว่าผู้ป่วยมีประสาทหลอนและ ป่วยเป็นโรคจิต ตัวอย่าง หูแว่วที่พบบ่อย ผู้ป่วยได้ยินเสียงคนมาวิจารณ์พฤติกรรมต่าง ๆ ของเขา มาว่าหรือด่า ผู้ป่วยโดยที่ไม่มีคนที่พูดจริง ๆ มีแต่ได้ยินเสียงทางหู
การแปลสิ่งเร้าผิด (Illusion) คือ มีสิ่งเร้าแต่แปลสิ่งเร้าอันนั้นผิดไป เช่น เห็นเชือกเป็นงู เห็นหน้าภรรยาเป็นหน้าผีที่น่ากลัว..ฯลฯ อันนี้ก็เช่นกัน เราต้องพิจารณาให้ชัดเจนการจะบอกว่าผู้ป่วยมี Illusion นั้นภาวะแวดล้อมขณะที่เกิดต้องชัดเจน คือมีแสงสว่างเพียงพอ เพราะฉะนั้นในภาวะที่มืด ๆ หรือมีแสงสลัว ๆ เราอาจแปลกสิ่งเร้าผิดได้ เช่น เดินผ่านป่าไม้มืด ๆ เห็นกิ่งไม้เป็นผี หรือในห้องมืด ๆ เราอาจเห็นเชือกเป็นงู แต่พอดี ๆ ก็รู้ว่าไม่ใช่
ในข้อ 1 นี้ ถ้าเราพบข้อหนึ่งย่อยเพียงข้อเดียว เราก็สามารถวินิจฉัยได้ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคจิตแน่นอน ยกเว้นพบเสมอ การแปลสิ่งเร้าผิดอย่างเดียว
2. มีพฤติกรรมที่ยุ่งเหยิงอย่างมาก (Grossly Disorganized Behavior) ข้อนี้นั้นถ้าชัดเจนก็วินิจฉัย ไม่ยาก แต่ถ้าไม่ชัดเจนก็วินิจฉัยยากมาก ผมขอยกตัวอย่างที่ชัดเจนก่อน เช่น ผู้ป่วยยืนนิ่งอยู่ในท่าประหลาด ๆ นานเป็นชั่วโมง หรือบางครั้งเราจับผู้ป่วยให้อยู่ในท่าใด เขาจะอยู่ในท่านั้น ( Catatonia) หรือในกรุงเทพฯ ผู้ป่วยไม่ยอมใส่เสื้อผ้า แล้วเดินร้องรำทำเพลงในที่สาธารณะ เราก็บอกได้เลยว่าเป็นโรคจิต แต่ก็ต้องระวัง ว่าคนนั้นไม่ได้ทำตามความเชื่อ เช่นไปบนศาลว่าถ้าสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ จะแก้ผ้ารำวงถวาย ถ้าสอบได้ก็ ต้องทำตามที่บนไว้ อันนี้แยกไม่ยาก เพราะฉะนั้นหลังจากทำเสร็จเขาจะทำตัวเป็นปกติ แต่ถ้าโรคจิตผู้ป่วยจะทำ ไม่ยอมเลิกจนต้องถูกพาตัวมาเข้าโรงพยาบาลรักษา ถ้าอาการไม่ชัดเจน โดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่น อาจจะทำตัว ประหลาดหรือแต่งตัวประหลาดมาก ๆ หรือพูดภาษาวัยรุ่นทำให้เราเข้าใจยาก อาจนึกว่าเขาเป็นโรคจิต ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ ซึ่งถ้าข้อ 2 ไม่ชัดเจนเราอาจต้องพิจารณาดูว่ามี ข้อ 1 หรือไม่ถ้ามีก็เป็นโรคจิต ถ้าไม่มีอาจต้องติดตามดู พฤติกรรมต่อไปว่ามีแนวโน้มไปทางไหน
3. มีการตัดสินใจและการรู้จักตัวเองเสีย (Poor Insight and Judgement) คือ ผู้ป่วยโรคจิตเกือบทั้งหมด จะไม่รู้ว่าตัวเองป่วยจะต้องรักษา เขายังคิดว่าสิ่งที่เขาทำหรือคิดนั้นเหมาะสมถูกต้องจนกว่าเขาจะได้รับการ รักษาจนอาการดีขึ้น ถึงจะยอมรับว่าตัวเองไม่สบายและร่วมมือในการรักษา แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่ยอมรับการ รักษาจนต้องป่วยและเข้าโรงพยาบาลหลายครั้ง จนในที่สุดถึงจะยอมรับได้ การตัดสินใจของผู้ป่วยนั้นก็ เหมือนกัน เขาจะทำและคิดตามการหลงผิดหรือตามประสาทหลอน เช่น ซ่อนตัวอยู่แต่ในห้องปิดไฟปิด หน้าต่าง เพราะหลงผิดกลัวคนจะมาฆ่า...ฯลฯ การตัดสินใจของเขาก็เช่นกันจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาที่ เหมาะสม
เราสามารถเอาข้อ 3 ในการบอกผู้ป่วยเป็นโรคจิตหรือไม่ เนื่องจากคนที่เสียข้อ 3 โดยไม่เป็นโรคจิตก็มี จำนวนมาก เช่น พวกติดยาเสพติด เขาก็รู้ว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี เสียเงินเสียสุขภาพ แต่เขาก็ยังเสพ แสดงว่า การตัดสินใจไม่ดี และเขาก็ไม่เคยคิดที่จะมารักษาตัวจนกว่าจะไม่มีทางเลือกอีก เช่น ไม่มีเงินซื้อยาเสพติด หรือสุขภาพแย่ลงมากจนเสพไม่ได้ หรือพวกผีการพนัน เขาก็รู้ว่าเล่นแล้วจะเสียแต่ก็เล่น และก็ไม่เคยคิดจะมา รักษา คนพวกนี้ไม่จัดว่าเป็นโรคจิตถึงแม้ว่าการตัดสินใจและการรู้จักตัวเองจะไม่ดี
ข้อ 3 นี้เป็นอันที่เราพบได้ในผู้ป่วยโรคจิตส่วนใหญ่ แต่ข้อ 3 ข้อเดียว ไม่ได้บอกว่าใครเป็นโรคจิต เราต้องพิจารณาจากข้อ 1 และข้อ 2 เป็นสำคัญ

website templates.