ก่อนหน้า1/2ถัดไป
บทที่11 เรื่องการปรับตัว

การปรับตัว
บุคคลใดบุคคลหนึ่งเผชิญปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั้นเองหรือเป็นปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปบุคคลนั้นก็จะพยายามปรับตัวสภาพที่เป็นปัญหาที่เขากำลังเผชิญนั้น เพื่อให้สภาวะของความกดดัน ความเครียดความว้าวุ่น วุ่นวายใจ หรือความกังวลใจค่อยๆ คลี่คลายลง จนกระทั่งหมดไป หากไม่สามารถขจัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปได้ ความกังวลใจก็ยังคงมีอยู่ต่อไป และอาจจะมีผลกระทบให้บุคคลนั้นต้องสูญเสียความสมดุลในตนเอง เกิดความเคร่งเครียด วิตกกังวล สับสน ว้าวุ่นใจ และความคับข้องใจ ทำให้ไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิต
โคลแมน ( Coleman, 1981 : 109) กล่าวว่าการปรับตัว หมายถึง ผลของความพยายามของบุคคลที่พยายามปรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาด้านบุคลิกภาพ ด้านความต้องการหรือด้านอารมณ์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่บุคคลนั้นอยู่ ส่วน เบอร์นาด ( Bernard, 1960 ) ให้ความหมายของการปรับตัวว่าเป็นการที่บุคคลสามารถปรับตัวให้เข้ากับตนเองและโลกภายนอกได้อย่างดี ความพึงพอใจ ความแจ่มใสอย่างสูงสุด มีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับสภาพสังคม มีความสามารถที่จะเผชิญและยอมรับความจริงของชีวิต
สรุปได้ว่าารปรับตัว หมายถึง การที่บุคคลพยายามปรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตน และพยายามปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและความต้องการของตนเอง จนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขปราศจากความคับข้องใจ ( ลัดดาวัลย์ เกษมเนตรและทัศนา ทองภักดี , 2543)


วิธีการที่เหมาะสมในการปรับตัว
เมื่อเกิดความขัดแย้ง ความคับข้องใจและอุปสรรคต่างๆ จึงมีความจำเป็นที่คนจะต้องเรียนรู้วิธีการปรับตัวหลายๆ แบบ ต่อสู้ปัญหาอย่างมีสติ และมีวิธีการที่จะจัดการกับความเครียดทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง นอกจากจะรู้วิธีการสร้างความพอใจให้กับตนแล้ว จะต้องรู้วิธีการสร้างสัมพันธ์ภาพกับผู้อื่นด้วย ต้องสามารถผสมผสานความต้องการของตนกับความต้องการที่สังคมเรียกร้อง การยอมรับกฎเกณฑ์ ค่านิยมของกลุ่ม เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ที่จะต้องแสดงออกอย่างถูกต้องจึงต้องพยายามสอนให้รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลในบรรทัดฐานและค่านิยมที่สังคมเรียกร้อง ( ลัดดาวัลย์ เกษมเนตรและทัศนา ทองภักดี , 2543)
การมีมโนทัศน์เกี่ยวกับตน ( Self - Concept )
การรับรู้เกี่ยวกับลักษณะของตน พัฒนาตั้งแต่วัยทารกโดยจะเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองตลอดเวลา การรับรู้ลักษณะของตนนี้เกิดจากการตีความหมายข้อมูลที่ได้รับ ทำให้เกิดความ รู้สึกและเกิดทัศนคติต่อ ตนเองว่าตนเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดี เมื่ออายุมากขึ้น การรับรู้ตนเอง หรืออัตมโนทัศน์จะมั่นคงขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความรู้สึก ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองจะเด่นชัดขึ้น ถ้าการรับรู้เกี่ยวกับตนกับอุดมการณ์เกี่ยวกับตน ( Self - Concept และ Self - Ideal ) แตกต่างกันมาก จะแสดงให้เห็นถึงการมีปัญหาในการปรับตัวคือ ปรับตัวไม่ดี ดังนั้นผู้ที่ยอมรับสภาพของตนในปัจจุบัน มีความรู้สึกที่ดี เป็นสุขต่อสภาพรอบตัว มีการรับรู้เกี่ยวกับตนค่อนข้างคงที่จะเป็นผู้ที่จัดว่าเป็นผู้ที่รับรู้ตนอย่างเหมาะสม
จากการวิจัย การยอมรับตนเอง ( Self - Acceptance ) มีผลในการสร้างบุคลิกภาพ ดังนี้
ก. ผู้ที่มีการยอมรับตนเองสูง แต่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่นต่ำกว่า มักจะเป็นผู้ที่ประเมินการยอมรับตนจากผู้อื่นสูงเกินไป เป็นผลให้เขาลงโทษตนเองเพราะผู้อื่น
ข . ผู้ที่ยอมรับตนเองสูง และยอมรับผู้อื่นสูงจะเสริมสร้างให้เกิด ความมั่นใจในตนและผู้อื่นในทางบวก และกล้าตัดสินใจด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนปฏิบัติ
ค . ผู้ที่ยอมรับตนต่ำ แต่ยอมรับผู้อื่นสูง ไม่สามารถที่จะเป็นผู้นำได้เลย
ง . ผู้ที่ยอมรับตนต่ำ และการยอมรับจากผู้อื่นต่ำ จะเป็นผู้ที่มีความกระวนกระวายในสูงอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของ ผู้อื่นมากเกินไปและมักปรับตัวเข้ากับผู้อื่นเสมอ
จึงเห็นเด่นชัดว่า การรับรู้เกี่ยวกับตนอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น วิธีการเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับตนทำได้หลายสภาพการณ์ เช่น การสอนให้รู้จักการเรียนรู้ และวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์วิจารณ์ผู้อื่นอย่างถูกต้องและตรงไปตรงมา เป็นต้น
กลวิธานป้องกันตนเอง (Defense mechanism)
อย่างไรก็ตามปัญหาของมนุษย์มีหลายประการ แม้จะใช้วิธีการที่มีเหตุผลแต่ไม่สามารถแก้ได้สำเร็จ บางครั้งมนุษย์จึงต้องเลือกใช้กลวิธีการปรับตัว (Defense mechanism) ซึ่งฟรอยด์และบุตรีแอนนา ฟรอยด์ ได้แบ่งประเภทกลไกในการป้องกันตัวดังต่อไปนี้
1. การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก จนกระทั้งลืม กลไกป้องกันตัวประเภทนี้มีอันตราย เพราะถ้าเก็บกดความรู้สึกไว้มากจะมีความวิตกกังวลใจมากและอาจทำให้เป็นโรคประสาทได้
2. การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น (Projection) หมายถึง การลดความวิตกกังวล โดยการป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น
3. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับตัวโดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้คำ อธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่ตีลูกมักจะบอกว่า การตีเพื่อเด็ก เพราะเด็กต้องการการทำโทษ เป็นบางครั้งจะได้เป็นคนดี พ่อแม่จะไม่ยอมรับว่าตีเพราะโกรธลูก
4. การถดถอย (Regression) หมายถึงการหนีกลับไปอยู่สภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุข
5. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) หมายถึงกลไกป้องกันตน โดยการ ทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเอง ที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมอาจจะไม่ยอมรับ

6. การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day Dreaming)
กลไกป้องกันตัวประเภทนี้เป็นการ สร้างจินตนาการหรือมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นจึงคิดฝัน หรือสร้างวิมานในอากาศขึ้นเพื่อสนองความต้องการชั่วขณะหนึ่ง7. การแยกตัว (Isolation) หมายถึงการแยกตัวให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง
8. การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจต่อคนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้น เหตุของความคับข้องใจ เป็นตนว่า บุคคลที่ถูกนายข่มขู่หรือทำให้คับข้องใจ เมื่อกลับมาบ้านอาจจะใช้ภริยา หรือลูกๆ เป็นแพะรับบาป
9. การเลียนแบบ (Identification) หมายถึงการปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง การเลียนแบบนอก จากจะเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมือนบุคคลที่ตนเลียนแบบ แม้ยังจะยึดถือค่านิยมและมีความรู้สึกร่วมกับผู้ที่เราเลียน แบบในความสำเร็จ หรือล้มเหลวของบุคคลนั้น การเลียนแบบไม่จำเป็นจะต้องเลียนแบบจากบุคคลจริง ๆ แต่อาจจะ เลียนแบบจากตัวเอกในละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ โดยมีความรู้สึกร่วมกับผู้แสดง เมื่อประสบความทุกข์ ความโศก เศร้าเสียใจ หรือเมื่อมีความสุขก็พลอยเป็นสุขไปด้วย

website templates.