ก่อนหน้า1/4ถัดไป
บทที่10 เรื่องสุขภาพจิต

สุขภาพจิต
สุขภาพจิตที่ดีของคนๆ หนึ่ง จะต้องมีรากฐานมาจากการที่คนๆ นั้นมีสุขภาพกายที่ดีมาก่อน คำกล่าวเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์สอนใจของมนุษย์ทุกคนให้พยายามปฏิบัติตนให้มีสุขภาพกายที่ดี โดยการรับประทานอาหารให้ครบหมู่
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์พอดี ออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการบริโภคสารที่มีอันตรายต่อร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจเช็คร่างกายตามระยะเวลาที่เหมาะสม ถ้าหากการะทำเช่นนี้แล้ว สุขภาพกายของท่านคงจะอยู่ในขึ้นดีถึงดีมากอย่างแน่นอน เพราะหากผู้ใดมีสุขภาพกายที่ไม่ดี มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งจำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเป็นประจำ สุขภาพจิตของบุคคลผู้นี้คงไม่สมบูรณ์เต็มที่เหมือนคนสุขภาพกายแข็งแรง เพราะจิตใจคงว้าวุ่นหวั่นวิตก การบีบคั้นจากสิ่งแวดล้อมที่มีเวลาน้อยอยู่แล้วในการทำงานและพักผ่อน แต่กลับต้องมาใช้เวลากับการตรวจรักษาสุขภาพกายที่มีปัญหา ดังนั้นท่านต้องให้ความสำคัญต่อสุขภาพกายอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ ภายใต้ความตั้งใจจริงของท่านอย่างแน่นอน
ความสำคัญของสุขภาพจิต
สุขภาพจิต หมายถึงความปกติของจิตใจ ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุของคนเช่นเดียวกับสุขภาพ ร่างกาย ผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี (Good Mental Health) ย่อมสามารถดำเนินชีวิตด้วยความสุขใจ ผู้มีความผิดปกติของสุขภาพจิต (Mental Disorders) ย่อมมีความทุกข์ในการดำเนินชีวิต
องค์การอนามัยโลก ( WHO in Hogarth 1978 : 236) ให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า “สุขภาพจิต” ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านชีวะและสังคม เป็นสภาพที่ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับระดับและความผันแปรต่างๆ สุขภาพจิตเป็นความสามารถของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และความสามารถที่อยู่ได้หรือทำสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ในสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลง เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในใจบุคคลที่มีสุขภาพจิตดี ก็จะสามารถปรับจิตใจให้เกิดความพอใจในผลที่ได้รับ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาแทนที่จะหลีกหนีจากปัญหาหรืออุปสรรคนั้นๆ นอกจากนี้บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีและสามารถใช้ความรู้สึกขัดแย้งในใจต่างๆ เป็นแรงผลักดันให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
สุรางค์ จันทร์เอม (2527 : 2) กล่าวว่า สุขภาพจิต คือ สุขภาพจิตใจที่ที่ของมนุษย์ หรือการมีสุขภาพจิตที่ดี เช่น มีจิตใจเบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ ไม่มีความวิตกกังวลใด ๆ มีแนวคิดที่ถูกต้อง
วิฑูร แสงสิงแก้ว ( 2527 : 44) กล่าวว่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมิได้หมายถึง ผู้ที่มิได้มีสภาพจิตแปรปรวนอย่างเดียว แต่หมายถึง ผู้ที่ปรับสภาพจิตใจให้มีความสมดุลย์กับสิ่งแวดล้อมได้ตามวัยของชีวิต สุขภาพจิตนี้อาจเปรียบได้กับความสุขทางใจ ซึ่งเป็นนามธรรมหรือมีคุณค่าทางคุณภาพมากกว่าคุณค่าทางปริมาณ
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ ( 2530 : 6) ให้ความหมายสุขภาพจิตว่า สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางจิตใจของมนุษย์ ซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ปราศจากโรคจิต โรคประสาท มีความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม มีความมั่นคงทางจิตใจ มีสมรรถภาพในการทำงาน มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และสามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฝน แสงสิงแก้ว (2532 : 289) กล่าวว่า สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข ผู้มีอารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงมาก ๆ ได้ มีสมรรถภาพในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ
กองสุขภาพจิต กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความหมายของสุขภาพจิตไว้ว่า สุขภาพจิต หมายถึง สภาพความสมบูรณ์ของจิตใจซึ่งดูได้จากความสามารถในเรื่องการกระชับมิตรพิชิตอุปสรรคและรู้จักพอใจ ดังนี้
การกระชับมิตร หมายถึง ความสามารถในการผูกมิตรและรักษาความเป็นมิตรไว้ให้ได้รวมทั้งความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและเป็นสุข พิชิตอุปสรรค หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาและปรับตัวให้อยู่ได้ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ได้ในท่ามกลางความเป็นอยู่และความเปลี่ยนแปลงของสังคม รู้จักพอใจ หมายถึง ความสามารถในการทำใจให้ยอมรับในสิ่งที่อยากได้ อยากเป็นเท่าที่ได้ ที่เป็นอยู่จริงได้ด้วยความสบายใจ (กรมการแพทย์ , มาตรฐานบริการสุขภาพจิต : 2533 : 1 )

website templates.