ก่อนหน้า1/8ถัดไป
บทที่7 เรื่องการเรียนรู้

 ความหมายของการเรียนรู้
นิยามของการเรียนรู้ (Learning) นั้นมีอยู่มากมาย นักจิตวิทยาทั้งหลายได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการให้นิยาม และพวกเขามีความเห็นว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่คงทนถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นผลมาจากประสบการณ์ ( Baron, 1989 : 136) และไม่ว่าคำจำกัดความจะเป็นไปในลักษณะไหนการเรียนรู้ทั้งหลายก็จะมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ
1. นิยามทั้งหลายมีความเห็นพ้องกันว่า การเรียนรู้

หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการกระทำ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (potential) เมื่อมีพฤติกรรมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สามารถแสดงออกมาให้เห็นได้หรือไม่สามารถสรุปได้ว่าการเรียนรู้นั่นเกิดขึ้นซึ่งจะเป็นไปได้ในเมื่อการกระทำในขึ้นต้นของสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงข้อสมมติ (assumed) ดังจะเห็นได้จากครูที่สอนนักเรียน เมื่อครูทำการทดสอบเพียงหน่วยหนึ่งของการเรียน และนักเรียนไม่สามารถตอบคำถามเริ่มต้นในหน่วยนั้นได้ ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นไปได้ว่า ข้อสมมตินั้นอาจไม่สมเหตุสมผลก็ได้
2. นิยามของการเรียนรู้ทั้งหลายเห็นพ้องกันว่า

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นผลจากการฝึกหรือประสบการณ์ ข้อจำกัดดังกล่าวนี้จะเป็นการเสริมหรือแสดงให้เห็นว่า ความคิดที่ตรงกันข้ามกับความคิดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน มีความคิดว่าวัยเด็กไม่ใช่วัยที่จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด (Childhood is not “golden age for learning”) กล่าวคือ เมื่อร่างกายของเราไปปะทะกับสิ่งแวดล้อม จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นทันทีทันใดนั้นแล้ว วัยเด็กไม่ใช่วัยที่มีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด จากการศึกษาในเรื่องนี้แล้วได้ชี้ให้เห็นว่า อัตราการเรียนรู้ของสิ่งใหม่ ๆ จะเพิ่มขึ้นจากวัยทารกไปสู่วัยที่จะปฏิบัติตนได้ดีเต็มที่ (maturity) คือ ราว ๆ ตอนต้นของอายุ 20 ปี จากนี้ต่อไปอีก 10 หรือ 15 ปี การเรียนรู้แทบจะคงที่เรื่อย ๆ ไป พอหลังจากนี้ไปแล้วมันก็จะค่อย ๆ เสื่อมลงทีละน้อย

องค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
การเรียนรู้จะได้ผลดีย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญบางประการ ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ 1. วุฒิภาวะ (Maturity)
หมายถึงลำดับขั้นของความเจริญงอกงาม หรือพัฒนาการของบุคคลที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้า หรือการฝึกฝนใดๆ วุฒิภาวะของแต่ละบุคคลจะพัฒนาไปตามลำดับวัย ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม วุฒิภาวะเป็นภาวะของการบรรลุถึงขั้นสุดยอดของการเจริญเติบโตเต็มที่ในระยะใดระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะประกอบ กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้เหมาะสมกับวัย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาตินี้ไม่จัดว่าเป็นการเรียนรู้ แต่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเตรียมความพร้อมและฝึกทักษะเบื้องต้นให้ สมกับวัย
2. ความพร้อม (Readiness)

เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเรียนรู้ การที่จะเรียนรู้ทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งได้รวดเร็วและเกิดผลดีผู้เรียนจะต้องมีความพร้อม หากถูกบังคับให้เรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในขณะที่ยังไม่มีความพร้อม ผู้เรียนมักจะเกิดความคับข้องใจและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสิ่งนั้น
3. แรงจูงใจ (Motivation)

เป็นความปรารถนาและเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ และส่งผลให้การเรียนรู้นั้นได้ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
4. การเสริมแรง (Reinforcement)

เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้แล้วแสดงพฤติกรรมออกมา และได้รับการเสริมแรง จะรู้สึกพึงพอใจ และการเสริมแรงนั้นจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนองมากขึ้น จึงแสดงพฤตินั้นบ่อยขึ้น
5. การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)

การเรียนรู้สิ่งใหม่บางอย่าง ถ้าได้อาศัยประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานจะช่วยให้การเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นดีขึ้นเพราะผู้เรียนจะเชื่อมโยงความรู้ในครั้งก่อนมาใช้กับการเรียนรู้ครั้งใหม่ จึงทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ได้เร็วขึ้น
2. พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อ ด้านทักษะและการใช้อวัยวะต่างๆ (Psychomotor Domain)
เป็นการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความชำนาญ และเกิดทักษะในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ เช่น การอ่าน การพูด การเขียน การเล่นดนตรี กีฬา การแสดงออกทางศิลปะ เป็นต้น
3. พฤติกรรมด้านอารมณ์หรือความรู้สึก (Affective Domain)

เป็นพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น เกิดความพอใจ ศรัทธา ชื่นชม เกิดรสนิยม ซาบซึ้งและเห็นคุณค่า ฯลฯ

website templates.