ก่อนหน้า2/8ถัดไป
บทที่7 เรื่องการเรียนรู้

กระบวนการการเรียนรู้
Lee J. Cronbach (1963 อ้างถึงใน ดวงเดือน ศาสตรภัทร, 2546) มีหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ว่า จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญ 7 ขั้นตอน คือ
1. สถานการณ์ (Situation)
หมายถึง สิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวย
2. ลักษณะประจำตัวของบุคคล (Personal Characteristics)
หมายถึง ความพร้อม ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ สติปัญญา
3. เป้าหมาย (Goal) ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดทิศทาง เป็นแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจ
4. การแปลความหมาย (Interpretation)
เป็นการใช้ประสบการณ์ การรับรู้หรือความรู้เดิม ตีความสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิด ความเข้าใจ และวางแผนที่จะแสดงพฤติกรรมต่อไป
5. การลงมือกระทำ (Action)
เป็นการแสดงพฤติกรรมตอบสนองตามแผนที่วางไว้
6. ผลการกระทำ (Consequence)
เมื่อแสดงพฤติกรรมแล้วได้ผลที่น่าพึงพอใจ ก็สามารถยึดถือเป็นแนวปฏิบัติได้ แต่ถ้าเกิดความล้มเหลว อาจต้องมีการแก้ไขปรับปรุง ทบทวนแปลความหมายใหม่
7. ปฏิกิริยาต่อความผิดหวังหรือล้มเหลว (Reaction to thwarting)
ถ้าการกระทำได้ผลบรรลุเป้าหมายพฤติกรรมนั้นก็สิ้นสุดลง แต่ถ้าเกิดความผิดหวังล้มเหลวอาจเกิดปฏิกิริยาแสดงออกมาได้ 2 ลักษณะ คือ ปรับปรุงแก้ไข (Adaptive) ดื้อรั้น (Non-Adaptive) หรือ ใช้กลวิธานในการป้องกัน
ตนเอง (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นการหาวิธีการปรับตัวจากความไม่สบายใจที่ผิดหวังล้มเหลว หลักการของการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นเรื่องหนึ่งที่วงการจิตวิทยาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นักจิตวิทยาทั้งหลายได้พยายามศึกษาถึง
แนวความคิดของนักจิตวิทยารุ่นเก่า มีการปรับปรุง ขยาย และเพิ่มเติม ทำให้เกิดหลักการเรียนรู้ขึ้นมากมายหลายแบบ

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นแนวคิดที่นักจิตวิทยาได้ค้นคว้าทดลองแล้วสรุปเป็นหลักการ ซึ่งมี มากมายหลายทฤษฎีและมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป จึงได้ทำการรวบรวมและจัดกลุ่มไว้ดังนี้
1. ทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theory)

หรือ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theories) เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม กลุ่มทฤษฎีนี้แยกย่อยออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
หมายถึง การเรียนรู้ ที่เกิดเนื่องมาจากการตอบสนองของบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้าตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป โดยสิ่งเร้าหนึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ไม่มีอิทธิพลให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ คือไม่สามารถให้ใครตอบสนองมาได้ถ้าไม่มีเงื่อนไข เรียกว่า “สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข” (Condition Stimulus) หรือสิ่งเร้าเทียม ส่วนสิ่งเร้าหนึ่งคือ สิ่งเร้าที่อินทรีย์แสดงความพึงพอใจสามารถแสดงออกมาได้เองเรียกว่า“สิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข” (Unconditioned Stimulus) หรือสิ่งเร้าแท้ เหตุที่ต้องนำทั้งสิ่งเร้าแท้และเทียมมาเข้าคู่กัน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ก็เพื่อให้การตอบสนองนั้นดึงออกมาจนมีความมั่นคงถาวร แม้จะนำสิ่งเร้าแท้หรือสิ่งเร้า ที่ไม่เป็นเงื่อนไขออกไปแล้ว การตอบสนองเช่นเดิมยังคงอยู่ เรียกว่าได้เกิดการเรียนรู้แล้ว ทฤษฎี การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขสามารถแยกได้เป็น 2 พวกคือ
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่ง อยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
พาฟลอฟ อธิบายว่า โดยธรรมชาติแล้วอินทรีย์จะมีการเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าบางอย่าง กับการตอบสนองบางอย่างตั้งแต่เกิด แล้วพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งเร้าอาจเกิดตามธรรมชาติหรือเกิดแบบอัตโนมัติ สิ่งเร้าประเภทนี้เรียกว่า "สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข" (Unconditioned Stimulus = UCS) การสอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรมชาติ เรียกว่า "การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข" (Unconditioned Response = UCR) เช่น

- การเคาะสะบ้าทำให้เกิดการกระตุก
- การเคาะ นั้นถือว่าเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขและการกระตุกที่เกิดขึ้น เป็นการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
- หากนำสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาเข้าคู่กับ สิ่งเร้าที่เป็นกลาง เช่น เสียงกระดิ่งโดยที่จะสั่นกระดิ่งทุกครั้งที่เคาะหัวเข่า หลังจากนั้นจะพบว่า มีการกระตุกเกิดขึ้นเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง โดยที่ไม่ต้องเคาะสะบ้าหัวเข่า
- พาฟลอฟ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า การวางเงื่อนไข (Conditioning) เสียงกระดิ่งตอนแรกเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต่อมากลับมีผลให้เกิดการกระตุก เรียกว่า สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และเรียกการตอบสนองที่เกิดขึ้นว่า การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)

การทดลอง


ก่อนวางเงื่อนไขขั้นที่ 1

สั่นกระดิ่ง (CS) ---> ไม่เกิดปฏิกริยาสะท้อน

ขั้นที่ 2

พ่นผงเนื้อ (UCS) ---> น้ำลายไหล (UCR)

ระหว่างการวางเงื่อนไขขั้นที่ 3

สั่นกระดิ่ง(CS)+พ่นผงเนื้อ(UCS)-->น้ำลายไหล (UCR)

หลังการวางเงื่อนไขขั้นที่ 4

สั่นกระดิ่ง (CS) ---> น้ำลายไหล (CR)

website templates.