ก่อนหน้า2/2ถัดไป
บทที่11 เรื่องการปรับตัว

การพัฒนาบุคลิกภาพ

ลักขณา สริวัฒน์ ( 2530 : 149-150 ) กล่าวไว้ว่า ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพได้แก่
1. ศักยภาพที่มีมาแต่กำเนิด ( Inborn Potentialities) เป็นสิ่งที่ติดมากับทารกตั้งแต่เกิด ซึ่งอาจเป็นผลของพันธุกรรมหรืออิทธิพลต่าง ๆ ที่มีต่อทารกก่อนคลอดสิ่งเหล่านี้มีความแตกต่างเบื้องต้นของมนุษย์และจะเป็นเงื่อนไขกำหนดทิศทาง และขอบเขตของการพัฒนาบุคลิกภาพในระดับหนึ่ง เช่น รูปทรง ลักษณะ หน้าตา ระบบประสาท ความสมบูรณ์หรือพิการทางร่างกาย ลักษณะอารมณ์ เป็นต้น 2. สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ ในช่วงพัฒนาการของทารก ทารกมีประสบการณ์ต่าง ๆ กับสังคมและได้รับสิ่งเร้าที่มากระทบมากมาย ทารกก็ต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ เขาจะต้องเรียนรู้เขาต้องมีบทบาทอะไรบ้างสำหรับฐานะต่าง ๆ ของเขาในสังคม และเขาต้องเรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทของเขาได้ให้เหมาะสม การเรียนรู้จากสิ่งเร้าและประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมย่อมเป็นส่วนสำคัญ ในการหล่อหลอมบุคลิกภาพของบุคคลว่าเขาจะเป็นคนอย่างไรแสดงพฤติกรรม และมีวิธีปรับตัวอย่างไร
ในการพัฒนาบุคลิกภาพของคนนั้น บุคคลทั่วไปควรจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนไปสู่ความมีวุฒิภาวะ ( Maturity ) หมายถึง การพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ การอบรมเลี้ยงดูเด็กให้พัฒนาไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ จักต้องให้เด็กรู้จักตนเอง พึ่งตนเอง และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม มาตรฐานในการวัดความเป็นผู้ใหญ่นั้น ศูนย์สุขวิทยาจิต ได้ให้ข้อคิดในการพัฒนาบุคลิกภาพไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ดังนี้
1. พัฒนาจากการพึ่งผู้อื่น ( Dependent) ไปสู่ความเป็นอิสระ ( Independent ) เด็กที่เกิดมาพึ่งตนเองไม่ได้ ต้องพึ่ง ผู้อื่นตลอดเวลา ดังนั้นผู้ที่ให้การอบรมเลี้ยงดูจะต้องฝึกพัฒนาให้พึ่งตนเองเปิดโอกาสให้ทำงานเองได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การ พึ่งตนเองได้ในเรื่องที่มีความจำเป็นของชีวิตโดยเฉพาะในเรื่องการตัดสินใจ
2. พัฒนาการความสนุกสนาน ( Pleasure ) ไปสู่ความเป็นจริง ( Reality ) ระยะวัยเด็กจะต้องยอมรับว่าการเล่น คือ งานของเด็ก เด็กควรจะได้รับการตอบสนองเรื่อง ความสนุกสนานให้เหมาะสมตามวัย ถ้าไม่ได้รับในวัยเด็ก เด็กจะสับสนได้ โดยเฉพาะ เมื่อโตขึ้นไม่อาจสามารถแยกความเพ้อฝันกับความเป็นจริงออกจากกันได้ ดังนั้นเมื่อโตขึ้นจะ ต้องให้คนรู้จักทำงาน รับผิดชอบต่องานตามวุฒิภาวะยอมรับว่าชีวิตคืองาน
3. พัฒนาจากความไม่รู้ ( Ignorance ) ไปสู่การมีความรู้ ( Knowledge ) ในความจริงของชีวิต ความไม่รู้จะต้องถูก ชดเชยด้วยการศึกษาหาความรู้ และสามารถแสดงออกซึ่งการมีความรู้ได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และยอมรับการ ศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ตนไม่ทราบในกรณีที่บุคคลนั้นไม่ยอมรับความจริงว่าตนเองไม่รู้ แต่แสดงตนว่ารู้และปฏิเสธการเรียนรู้ที่จะได้รับ การปฏิบัติเช่นนี้มิได้ช่วยให้มีการพัฒนาความเจริญของชีวิตได้
4. พัฒนาจากการไม่มีความสามารถ ( Incapability ) ไปสู่การมีความสามารถ ( Capability) ความเป็นผู้ใหญ่วัดได้จาก ในการที่สามารถปฏิบัติตนให้เหมาะสม สามารถควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ของตนได้ ทำให้สามารถแยกข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ เมื่อสามารถคุมจิตใจได้ก็สามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ไม่สามารถทำงาน ได้ส่วนใหญ่มักจะไม่มีความสามารถในการควบคุมตนเองและไม่สามารถที่จะวินิจฉัยได้ว่าในเวลานั้นสภาพการณ์ นั้นควรจะปฏิบัติอย่างไร
5. พัฒนาจากการสับสนทางเพศ ( Diffused Sexuality ) ไปสู่การคบเพื่อนเพศตรงกันข้าม ( Heterosexuality ) ในวัยเด็กเป็นการรักตนเองและรักเพื่อนเพศเดียวกัน แต่เมื่อเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นมีพัฒนาการทางเพศ จะต้องรู้จักพัฒนาความรู้สึกให้ชอบเพศตรงกันข้ามได้ การอบรมเลี้ยงดูเด็กให้ได้ปฏิบัติตนตามบทบาท ( Role ) ทางเพศ และให้การเสริมแรง ที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญในการเรียนบทบาทของตน
6. พัฒนาจากการไร้ศีลธรรมจรรยา ( Amoral ) ไปสู่ความมีศีลธรรม ( Moral ) ครอบครัวควรฝึกอบรมเด็กในเรื่องความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยที่พ่อแม่จะต้องเป็นตัวอย่าง
( Model ) ที่ดีแก่เด็กด้วย ผู้ที่เป็นผู้ใหญ่จักต้องรู้จักบทบาท ในการแสดงตนได้ถูกต้องตามมาตรฐานของศีลธรรม สังคมจรรยา จึงจะสามารถปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ มีความสุข
7. พัฒนาจากยึดตนเองเป็นหลัก ( Self-Centered ) ไปสู่ยึดผู้อื่นเป็นหลัก ( Other-Centered ) วัยเด็กเป็นวัยที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางตัดสินโดยใช้ตนเองเป็นหลัก ซึ่งผู้ใหญ่ไม่ควรใช้หลักในการปฏิบัติตนเช่นนี้ ผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ต้อง สามารถเสียสละ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นสามารถทำความต้องการของกลุ่มหรือของผู้อื่นได้ เป็นต้น ดังนั้น การวัดความเป็นผู้ใหญ่จึงต้องพิจารณาความสามารถในการปรับตนให้เข้าผู้อื่นได้ การให้เกียรติผู้อื่นเป็นหลักสำคัญ

 

 

website templates.