ก่อนหน้า4/4ถัดไป
บทที่10 เรื่องสุขภาพจิต

โรคประสาท (Neurosis)
โรคประสาทเกิดจากการปรับอารมณ์และความคิดได้อย่างไม่เหมาะสม เมื่อเกิดความขัดแย้งในใจ อาการที่พบได้บ่อยๆ เช่น วิตกกังวลมากเกินไป หวาดกลัวอย่างไม่สมเหตุสมผล ซึมเศร้ามาก ย้ำคิดย้ำทำ ขาดความสุข ฯลฯ
โรคประสาท หมายถึง โรคที่มีความผิดปกติของจิตใจ โดยที่ไม่พบมีความผิดปกติของเนื้อสมองหรือเส้นประสาท ความผิดปกติของจิตใจในคนเป็นโรคประสาทนั้น เนื่องจากความกังวลที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุที่ติดฝังอยู่เป็นข้อขัดแย้ง
ภายในจิตใจตั้งแต่วัยเด็ก และอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก เมื่อถูกกระทบด้วยความกดดันต่าง ๆ จะทำให้ความกังวลเกิดขึ้นอย่างมาก และความกังวลนี้ จะมีอิทธิพลต่อคนคนนั้นจนทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย รู้สึกเนื้อตัวร่างกายไม่ใคร่เป็นปกติ แต่จะบอกให้ชัดเจนก็ไม่ได้ เช่นอาจจะรู้สึกตึงเครียด ใจสั่น ใจเต้นแรง เหงื่อออกหนาวร้อนซู่ซ่า หงุดหงิด อึดอัด ในโรคประสาทบางชนิดก็อาจมีอาการหายใจเร็ว แขนขาเกร็ง โดยไม่หมดสติ กลัวสิ่งที่ไม่น่ากลัว เช่น กลัวแมว นก กลัวอยู่ในที่แคบที่กว้าง มีอาการย้ำคิด ย้ำทำในเรื่องที่ตนเองก็รู้ว่าไม่น่าคิดว่าทำ แต่ห้ามใจตนเองไม่ได้ เช่น ล้างมือวันละ 50-100 ครั้ง คิดสกปรกกับของศักดิ์สิทธิ์จนทำให้ต้องทำอะไรบางอย่างที่พิลึก ๆ เช่น ต้องบ้วนน้ำลาย 3 ครั้ง เมื่อเห็นศาลพระภูมิ หรือ ต้องปิดไฟเปิดไฟ ปิด ๆ ดับ ๆ อยู่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่คนที่เป็นโรคประสาทนั้น คนคนนั้นจะยังสามารถที่จะรู้ตนเองได้ดี รู้ว่าตัวเราผิดปกติไปในแวดวงสังคม ก็ยังไม่ได้ทำตัวแปลกไปจากสังคม คนนั้นยังสามารถอยู่ในโลกของความจริงได้ รับรู้ว่ามีอะไร
เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมภายนอก รู้ว่าตัวเราคือใคร คนอื่นเป็นใคร บุคลิกภาพยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
สาเหตุของโรคประสาท
เชื่อว่าเกิดได้จากสาเหตุดังนี้
1. มีบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม มีแนวโน้มที่จะปรับตัวได้ยากเมื่อเกิดปัญหา ความกดดัน ความขัดแย้ง มาจากการเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็ก และประสบการณ์ที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก เช่น
• คนที่ชอบเป็นคนสมบูรณ์แบบ มักจะเป็นโรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ
• คนที่เรียกร้องความรักและความสนใจมาก มักเป็นโรคประสาทชนิดฮีสทีเรีย
• คนที่คิดถึงตัวเองในแง่ปมด้อย มักจะเป็นโรคประสาทชนิดซึมเศร้า
• คนที่มีความคาดหวังสูงเกินความเป็นจริง มักจะเป็นโรคประสาทชนิดวิตกกังวล
• คนที่ถูกเลี้ยงดูมาให้มีความหวาดกลัวพ่อแม่มากๆ มักจะเป็นโรคประสาทชนิดหวาดกลัว ฯลฯ
2. จากประสบการณ์ที่ไม่ดีในชีวิต ทำให้เกิดเป็นรอยจารึก ที่ไม่ดี เกิดความฝังใจและเป็นความทุกข์ต่อไป เช่น ถ้าถูกทอดทิ้งโดยคนรัก อกหัก จะฝังใจต่อภาวะอกหัก และกลัวการมีแฟน จะเครียดได้ง่าย เมื่อต้องอยู่กับคนต่างเพศ หรือถ้าเด็กๆ เคยถูกเพื่อนล้อเลียนลักษณะด้อยบางอย่าง จะฝังใจและกังวลกลัวการถูกล้อเลียนได้ การที่มีความคับข้องใจและหาทางออกแบบไม่เหมาะสมนี้ จะทำให้กลายเป็นนิสัยที่ไม่ดีได้ เช่น กังวลมาก กลัวมาก
3. จากกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ถ้ามีคนที่เป็นโรคประสาทอยู่ใกล้ตัว จะทำให้เป็นโรคประสาทได้ง่ายขึ้น
ชนิดของโรคประสาท
โรคประสาทแบ่งได้เป็นหลายๆ อย่างดังนี้
1. โรคประสาทชนิดกังวล (Anxiety Neurosis) จะมีความกังวลมากกว่าปกติ มีความตึงเครียดมาก
2. โรคประสาทฮิสทีเรีย (Hysterical Neurosis) เป็นลักษณะของความวิตกกังวลที่เปลี่ยนไปเป็นความเจ็บป่วยพิการทางกาย เช่น ชักโดยไม่มีสาเหตุ หรือเป็นอัมพาตโดยไม่มีสาเหตุ หรืออาจจะเปลี่ยนจากความวิตกกังวลกลายเป็นคนมีผีเข้าเจ้าสิงก็ได้
3. โรคประสาทชนิดหวาดกลัว (Phobic Neurosis) จะมีความหวาดกลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว เช่น กลัวความสูง กลัวสัตว์บางชนิด กลัวฝูงคน ฯลฯ
4. โรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ (Obscessive Compulsive Neurosis) ชอบคิดซ้ำๆ ทำซ้ำๆ เช่น คิดว่ามือสกปรกต้องล้างมือบ่อยๆ หรือเช็คดูความเรียบร้อยของกลอนประตูหน้าต่างบ่อยๆ จนเป็นทุกข์ เป็นต้น
5. โรคประสาทชนิดซึมเศร้า (Depressive Neurosis) จะมีความซึมเศร้ามากกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลาสูญเสียสิ่งรัก
6. โรคประสาทที่คิดว่าตัวเองด้อยความเป็นคนลงไป (Depersonalization) เช่น คิดว่าตนเองมีแขน ขา สั้นลงๆ หรือมีขนาดร่างกายเล็กลงๆ
7. โรคประสาทชนิดอ่อนเพลียง่าย (Neurasthenia) พวกนี้มักรู้สึกอ่อนเพลียง่ายหงุดหงิด ปวดหัว ซึมเศร้า ขาดสมาธิ รู้สึกสุขภาพไม่ดี หมดกำลังใจลงเรื่อยๆ
8. โรคประสาทแบบหมกมุ่นกับสุขภาพมากไป (Hypochondriasis) ผู้ป่วยจะมีอาการหมกมุ่น และย้ำคิดย้ำทำเกี่ยวกับสุขภาพหรือสุขภาพจิตมากไป และมีอาการทางร่างกายร่วมไปด้วยโดยหาเหตุผลไม่ได้ พวกนี้มีลักษณะรักตนเองมากเกินปกติ จะนึกถึงตนเองและร่างกายตนเองมากเกินไป จะรู้สึกป่วยในขณะที่คนอื่นไม่รู้สึกอะไร มักเป็นคนเจ้าระเบียบ ระแวงสงสัย ไม่แน่ใจสิ่งแวดล้อม อาจมีประสบการณ์พบเห็นคนในครอบครัวเจ็บป่วย ตนเองมีความกดดันทางจิตและสังคม จึงคอยนึกว่าตนเองจะเจ็บป่วยไปด้วย มักไปหาแพทย์เพื่อตรวจโรคที่ตนมีอาการ แต่ก็ไม่พบความผิดปกติ คนไข้ไม่พอใจหมอ บางรายโต้เถียงเป็นเรื่องราวกันก็มี หาว่าแพทย์ตรวจไม่ดี บริการไม่ดี ความเจ็บป่วยที่คิดไปเองเหล่านี้ จะทำความรำคาญให้คนใกล้ชิดด้วย ผู้ป่วยมักจะวิตกกังวลคละเศร้าอยู่เสมอ การรักษาโรคประสาทนั้นต้องอาศัยการใช้ยา การใช้จิตบำบัดและพฤติกรรมบำบัด บางรายก็หายได้ง่าย บางรายก็หายได้ยาก โดยเฉพาะพวกที่ต่อต้านหรือไม่ให้ความร่วมมือ

 

โรคประสาท

โรคจิต

ความรุนแรง

เป็นความแปรปรวน
ชนิดอ่อนหรือไม่รุนแรง

เป็นความแปรปรวนอย่างรุนแรง

การทำงาน

ส่วนมากจะสามารถทำงาน ประกอบธุรกิจเข้าสังคมได้ แต่สมรรถภาพจะไม่ดีเท่าที่ควร

มักจะไม่สามารถทำงานได้
หรือถ้าทำงานได้
ผลงานจะเสียไปอย่างมาก

บุคลิกภาพ

บุคลิกภาพ จะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก

บุคลิกภาพจะเปลี่ยนจากเดิมมาก

การรู้ตนเอง

ยังรู้ในขอบเขตของความเป็นจริง

ไม่อยู่ในขอบเขตของความเป็นจริง
เช่น มีประสาทหลอน หลงผิด

การยอมรับตนเอง

รู้ว่าตนเองไม่สบายใจ กลุ้มใจ วิตกกังวล ต้องการความช่วย เหลือจากแพทย์ หรือผู้อื่น

ในรายที่อาการมาก จะไม่รู้ว่าตนเองผิดปกติ หรือไม่สบายใจ ไม่ต้องการให้ผู้อื่นช่วยเหลือแก้ไขตนเอง อาจต้องการให้ช่วยแก้สภาพแวดล้อมตามที่ตนเองหลงผิด

website templates.