ก่อนหน้า3/11ถัดไป
บทที่9 เรื่องบุคลิกภาพ

ทฤษฎีบุคลิกภาพ
การจัดแบ่งประเภทของทฤษฎีบุคลิกภาพมีหลายแบบ  ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของการจัดอาจรวมเอาทฤษฎีที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน  ดังต่อไปนี้
1.  ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์  ฟรอยด์  (Sidmund  Freud’s  Psychoanalytic  Theoryทฤษฎีของฟรอยด์  จะเน้นเรื่องจิตไร้สำนึกว่าเป็นแรงขับที่สำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล  ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในลำดับต่อไป
ประวัติของซิกมันด์  ฟรอยด์  (ค.ศ.  1856 – 1939)  ฟรอยด์  เป็นชนชาติยิว  ในช่วงวัยเยาว์นั้น  เขาอาศัยอยู่ที่กรุงเวียนนา  ประเทศออสเตรีย  ในปี  ค.ศ.  1881 ได้เรียนสำเร็จแพทย์จากมหาวิทยาลัยของเวียนนา  ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเขียนผลงานเกี่ยวกับประสาทวิทยา  ในที่สุดเขาก็ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการรักษาเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาท  เขาได้ศึกษาและฝึกงานกับจิตแพทย์ชาวฝรั่งเศส  ชื่อ  เจ. เอ็ม. ชาร์คอต (J.M. Charcot)  ในการรักษาคนไข้ฮิสทีเรีย  (Hysteria)   
ในปี  ค.ศ.  1894  ฟรอยด์  ได้ประกาศแนวคิดของเขาว่า  การรักษาคนไข้โรคประสาทไม่ควรใช้วิธีการสะกดจิตวิธีเดียว  น่าจะใช้วิธีเชื่อมโยงอย่างอิสระ (Free  Association)  โดยให้คนไข้พูดทุกสิ่งทุกอย่างที่คนไข้คิดออกในขณะนั้นให้มากที่สุด  แล้วนำเอามาวิจัยหาสาเหตุที่คนไข้เก็บกด  เขาได้ศึกษาเรื่องของจิตวิเคราะห์อยู่นานถึง 10 ปี และในปี ค.ศ. 1908  มีการประชุมจิตแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรก  เรียกว่า  International  Congress  of  Psychoanalysis
ในปี ค.ศ. 1918  ฟรอยด์  ได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ  และได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่  23 กันยายน  ค.ศ. 1939  รวมอายุได้  83 ปีเศษ  สำหรับหนังสือของฟรอยด์ที่เขียนไว้มีหลายเล่ม  เช่น

  1. My  Interpretation  of  Dream
  2. On  The  Psychical  Mechanism  of  Historical  Phenomena
  3. Three  Essays  on  Sexuality
  4. Beyond  the  Pleasure  Principle

ฟรอยด์มีความเชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณ (Instinct) 2 อย่างติดตัวมาแต่กำหนด  ซึ่งได้แก่

  1. สัญชาตญาณในการดำรงชีวิต (Life  Instinct)  คือ  สัญชาตญาณในการตอบสนองความต้องการของร่างกาย  เช่น  ความต้องการอาหารเพื่อบำบัดความหิว  ความต้องการทางเพศเพื่อดำรงชาติพันธุ์
  2. สัญชาตญาณแห่งความตาย  (Death  Instinct)  คือ  สัญชาตญาณในการดับสังขารและถึงความตายในที่สุด  เช่น  กลวิธานการป้องกันตนเอง  ได้แก่  การถอยกลับสู่ความเป็นเด็ก (Regression)  การกระทำซ้ำซาก  (Repetition)  นั่นคือ  สัญชาตญาณแห่งความตายสัญชาตญาณทั้ง  2 อย่าง  ฟรอยด์  ได้กล่าวว่า  ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความพอใจ  (Principle  of  Pleasure)  เพราะมนุษย์ทุกคนต้องการความสุขกายสบายใจ  โดยคำนึงถึงสภาวะความเป็นจริง  ซึ่งบางอย่างบุคคลไม่สามารถแสดงออกต้องสะกดกลั้นไว้  จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในใจ  และก่อให้มีพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าว
website templates.