ก่อนหน้า3/8ถัดไป
บทที่4 เรื่องพื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม

ระบบต่อมต่างๆ (Glands System)
การแสดงพฤติกรรมของมนุษย์นอกจากจะเกิดจากการกระทบของสิ่งเร้าภายนอกแล้ว สิ่งเร้าภายในก็มีผลด้วยไม่น้อย สิ่งเร้าภายในที่ว่านี้ก็คือ การทำงานของระบบ ต่าง ๆ ของอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำงานของระบบต่อม
ต่อม (Glands) คือ กลุ่มเซลล์จำนวนหนึ่งที่มารวมกันโดยมีใยผังผืดทำหน้าที่เป็นตัวโยงยืด ระบบต่อมนั้นมีอิทธิพลต่อมนุษย์มาก เพราะเราต้องทำงานเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ซึ่งต่อมจะทำงานเกี่ยวพันกับระบบประสาทโดยตรง
ระบบต่อมในร่างกายจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ต่อมมีท่อ และต่อมไร้ท่อ
ต่อมมีท่อ (Duct Glands or Exocrine Glands)
ต่อมมีท่อจะทำงานติดต่อสัมพันธ์กับไขสันหลังโดยผ่านเซลล์ประสาท (Neuron)ต่อมนี้จะทำหน้าที่ผลิตของเหลวที่เรียกว่า น้ำต่อม จากนั้นจึงส่งของเหลวที่ว่าไปตามท่อเพื่อให้มีผลยัง บริเวณของร่างกาย มีผลเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนมาก เช่น ในด้านของอารมณ์ เมื่อดีใจหรือเสียมาก ๆ จะเกิดอาการน้ำตาไหล เมื่อกลัวจะเกิดอาการเหงื่อออก เป็นต้น หากต่อมทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระทบได้ เช่น คนที่เป็นโรคดีซ่าน (Jaundice) เนื่องจากน้ำไหลจากตับถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสโลหิต คนป่วยจะมีอาการเหลืองทั้งตัว ส่งผลให้เกิดอาการโศกสลด และเบื่อหน่าย เป็นต้น ซึ่งต่อมมีท่อเหล่านี้ เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำนม ต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง ต่อมน้ำย่อย เป็นต้น
ต่อมไร้ท่อ (Ductless Glands or EndocrineGlands)
ต่อมชนิดนี้ทำหน้าที่ผลินสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormone) แต่เนื่องจากว่าต่อมชนิดนี้ไม่มีท่อสำหรับส่งสารเคมีผ่านไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ จึงต้องอาศัยกระแสเลือดในระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นตัวนำพาฮอร์โมนเพื่อไปมีผลกับร่างกายในด้านต่าง ๆ เช่น การเจริญเติบโต บุคลิกภาพ และพฤติกรรมการแสดงของมนุษย์ เป็นต้น ต่อมไร้ท่อทำงานติดต่อสัมพันธ์กับไขสันหลังเช่นเดียวกับต่อมมีท่อ และมีระบบประสาทอัตโนมัติมาติดต่อเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก
จะเห็นได้ว่าต่อมไร้ท่อเป็นประเภทของต่อมที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลโดยตรง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วงการจิตวิทยาสนใจที่จะศึกษาระบบารทำงานของต่อมไร้ท่อมากกว่าต่อมมีท่อ สำหรับต่อมไร้ท่อในร่างกายนั้น แบ่งได้เป็น 8 ต่อม นั่นคือ
1. ต่อมพิทูอิทารี (Pituitary Gland) หรือต่อมใต้สมอง
เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดถั่วลันเตา อยู่บริเวณขมับด้านซ้ายใต้สมองติดกับสมองส่วนไฮโปทาลามัส(Hypothalamus) นับว่าเป็นต่อมที่มีความสำคัญที่สุดในบรรดาต่อมไร้ท่อ เพราะฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจาต่อมนี้จะทำหน้าที่เป็น Master Gland คือ นายของต่อมอื่น ๆ ที่ควบคุมต่อมไร้ท่ออีก 7 ต่อมให้ผลิตฮอร์โมนได้เป็นปกติ โดยต่อมพิทูอิทารีนั้นสามารถแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ ได้อีก 3 ส่วน คือ
1) พิทูอิทารีส่วนหน้า (Anterior Lobe) ซึ่งผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ที่สำคัญคือ เทธิลิน(Tethelin) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย หรือเป็น Growth Hormone ซึ่งถ้าต่อมนี้ผลิตฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไปจะมีผลทำให้มีร่างกายใหญ่โตผิดปกติ เรียกว่า Giantism แต่ถ้าผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ได้น้อยกว่าปกติ จะส่งผลให้มีร่างกายเตี้ยแคระแกรน เรียกว่า Dwarfism ได้ นอกจากนี้พิทูอิทารีส่วนหน้ายังทำหน้าที่ในการควบคุม การทำงานของต่อมไร้ท่อที่เหลือทั้งหมดอีกด้วย
2) พิทูอิารีส่วนกลาง (Intermeia Lobe) จะผลิตฮอร์โมนที่มีชื่อว่า อินเตอร์มิดิน (Intermedin) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สีผิว
3) พิทูอิทารีส่วนท้าย (Posterior Lobe) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่มีชื่อว่า พิติวตริน (Pituitrin) ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ กระบวนการการเผาผลาญอาหาร และควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
2. ต่อมไพเนียล (Pineal Gland)

เป็นต่อมลักษระรูปไข่ตั้งอยู่ตรงกลางของสมองด้านบนเหนือต่อมไทมัสขึ้นไป มีขนาดเล็ก สีแดงเรื่อ ๆ ผลิตฮอร์โมนที่มีชื่อว่า เมลาโทนิน (Melatonin) ทำหน้าที่หน่วงความต้องการทางเพศในวัยเด็กไว้ไม่ใเกิดก่อนเวลาอันควร เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นต่อมนี้จะค่อยๆ ฝ่อหายไป

ถ้าต่อมนี้ทำงานบกพร่องอาจทำให้เด็กเกิดความต้องการเร็วขึ้นกว่ากำหนดได้ หากในวัยผู้ใหญ่ต่อมนี้ยังไม่ฝ่อ อาจทำให้เกิดการแคระแกรนของร่างกายได้
3. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland)
   ไทรอยด์ เป็นคำที่มาจากภาษากรีก แปลว่า โล่หรือเกราะ ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่บริเวณลำคอใกล้หลอดลมใต้กล่องเสียง มีลักษณะเป็นสองพู คือ ต่อมปีกซ้ายและต่อมปีกขวา ตรงกลางเป็นคอคอดลงไป มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ โดยกติแล้ว ฝ่ายหญิงจะมีลักษณะของต่อมไทรอยด์ที่ใหญ่และกว้างกว่าฝ่ายชาย ทำให้ลำคอของฝ่ายหญิงดูกลมกลึงมากกว่าฝ่ายชาย
ฮอร์โมนที่สำคัญที่ต่อมชนิดนี้ผลิตขึ้นได้แก่ ไทรอกซิน (Thyroxin) โดยอาศัยธาตุไอโอดีนและกรดอะมิโนที่ชื่อไทโรนินเป็นส่วนประกอบ ในการผลิตฮอร์โมนไทรอกซินนั้นทำให้เกิดกระบวนการเมตาโบลิซึม(Metabolism) หรือกระบวนการเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงานช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายจิตใจ ปัญญา และอวัยวะเพศ ทั้งตลอดจนสร้างความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกายอีกด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ต้องอาศัยวัตถุดิบสำคัญคือ ไอโอดีน ในการผลิต ดังนั้น หากร่างกายขาดธาตุไอโอดีนแล้ว ต่อมนี้จะต้อทำงานหนักเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างฮอร์โมนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดอาหารบวมโตขึ้นที่รู้จักกันว่า โรคคอหอยพอก
ถ้าหากต่อมชนิดนี้เกิดการบกพร่องโดยผลิตไทรอกซินออกมาน้อยเกินไป จะส่งผลให้มีอาการเฉื่อยชา เซื่องซึม เหนื่อยง่าย เรียกว่า ไฮโปไทรอยดิซึม (Hypothyroidism) ทั้งสภาพร่างกายก็จะแคระแกรน ผิวหนังแห้งกร้าน ลิ้นคับปากพูดไม่ชัด ในทางการแพทย์เรียกว่า มายซิติมา (Myxedema) แต่ถ้าหากต่อมมีการผลิตไทรอกซินออกมามากเกินไป จะทำให้เกิดอาการตื่นเต้น ตกใจง่าย เคร่งเครียด ใจร้อน วู่วาม ลุกลี้ลุกลน เรียกว่า ไฮเปอร์ไทรอยดิซึม (Hyperthyroidism)
นอกจากผลิตฮอร์โมนไทรอกซินแล้ว ต่อมชนิดนี้ยังผลิตฮอร์โมน ไทโรคัลซิโตนิน (Thyrocalcitonin) ซึ่งทำหน้าที่ลดระดับแคลเซียมในเลือด โดยดึงแคลเซียมจากเลือดมาสะสมไว้ในกระดูก รายละเอียดของฮอร์โมนตัวนี้มีไม่มากนัก บางตำรากล่าวว่าฮอร์โมนชนิดสร้างมาจากต่อมพาราไทรอยด์
website templates.