ก่อนหน้า3/3ถัดไป
บทที่5 เรื่องการรับสัมผัสและการรับรู้

การรับรู้ภาพลวงตา/ภาพสองนัย
การรับรู้ภาพลวงตา (IIIusions)

หมายถึง การรับรู้สิ่งเร้าต่าง ๆ ผิดพลาด อันเนื่องมาจากคุณสมบัติของสิ่งเร้าเอง หรือส่วนประกอบอื่น ๆ หรือความเชื่อที่บุคคลมีอยู่ในการรับรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด
อิทธิพลที่ก่อให้เกิดภาพลวงตาขึ้น ได้แก่
1. การเติมสิ่งหนึ่งสิ่งใด (Embeddedness)
2. ขนาดสัมพันธ์ (Relative Size)
3. การเกิดมุมหรือการตัดกันของเส้น (Angle of Intersection Lines)
การรับรู้ภาพสองนัย (Ambiguous figure)
เป็นภาพที่มองเห็นได้เป็น 2 อย่าง ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นจะเห็นเป็นอย่างไร ไม่มีถูกหรือผิด แต่การรับรู้ของบุคคลจะเห็นเป็นอย่างหนึ่ง ใครจะเห็นเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ
การรับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่
การที่เรามองเห็นวัตถุเคลื่อนที่ทั้ง ๆ ที่วัตถุนั้นไม่ได้เคลื่อนที่ ปรากฎการณ์ที่เห็นนี้สามารถอธิบายได้จาก
1. การเห็นการเคลื่อนที่เนื่องจากการต่อเนื่องกัน (Apparent Movement)
เราจะรับรู้ว่ารูปที่เราเห็นอยู่เคลื่อนที่ไป โดยที่รูปนั้นไม่ได้เคลื่อนที่เลยเพียงเราเห็นรูปหลายรูปต่อเนื่องพอเหมาะราว 25/วินาที เช่น ภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการรับรู้ การเคลื่อนไหวแบบ Stroboscopie Motion
2. การเห็นการเคลื่อนที่เนื่องจากการเห็นสิ่งเร้าที่หมุนเป็นเวลานาน
3. การเห็นการเคลื่อนที่เนื่องจากการชักจูง (Induced Movement)

 

การรับรู้ระยะทางและ ความลึก
ความเข้าใจเกี่ยวกับความคงที่ขนาดและรูปร่าง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่มีต่อการรับรู้เกี่ยวกับระยะทางและความลึก (Distance and Depth Perception) ซึ่งเป็นการรับรู้วัตถุในรูปสามมิติ การรับรู้ในลักษณะนี้เกิดขึ้นกับบุคคลได้อย่างไร ในเมื่อข้อมูลจากการเห็นวัตถุต่าง ๆ ผ่านไปที่เรตินาจะเป็นสองมิติ อย่างไรก็ตามได้มีการกล่าวถึงเรื่องนี้อยู่เสมอเนื่องจากการเห็นสิ่งต่าง ๆ บนโลกเราเป็นลักษณะสามมิติ จะเห็นได้จากตั้งแต่ก้าวลงบันไดออกจากบ้าน ก้าวขึ้นรถลงรถไปยังที่ทำงาน บุคคลสามารถที่จะรับรู้เกี่ยวกับระยะทางและความลึกได้เหมือนไม่ต้องใช้ความคิดเลย ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เป็นมาตั้งแต่เมื่อใด มีนักจิตวิทยาให้ความสนใจศึกษากันอยู่หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่รู้จักกันดีเป็นการศึกษาที่เรียกว่า หน้าผาลวงตา (Visual Cliff)
ลักษณะของหน้าผาลวงตาเป็นโต๊ะกระจกใสแข็งแรง ครึ่งหนึ่งของโต๊ะจะขีดเป็นลายหรือคลุมด้วยผ้าลายหมากฮอสเป็นด้านดื้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นกระจกใสมองเห็นถึงพื้นล่างเป็น
ด้านลึก ซึ่งจะขีดเป็นลายหรือเป็นผ้าลายหมากฮอสเช่นเดียวกัน นั่นหมายความว่า
ถ้ามองจากบนลงมาจะเห็นเป็นเหมือนพื้นสองขึ้น แต่ความจริงเป็นพื้นระนาบเดียวกัน เพียงแต่ว่าครึ่งหนึ่งจะเห็นเป็นพื้นธรรมดา ส่วนอีกครึ่งหนึ่งมองผ่านกระจกไปจะเห็นเป็นพื้นลึก
จากรูปแสดงหน้าผาลวงตานี้ เป็นการศึกษาของกิบสันและวอล์ค (Gibson and Walk, 1960) และรูปซ้ายมือเด็กวัยทารกอายุ 9 เดือน ไม่มีความกลัวในการคลานไปหาแม่เพราะเป็นกระจกด้านที่คลุมด้วยผ้าลายหมากฮอส ซึ่งเป็นด้านธรรมดาหรือด้านตื้นของหน้าผาลวงตา

การทดลองในสัตว์ที่เคยทำมาแล้ว โดยใช้ลูกสัตว์เกิดใหม่ที่เดินได้ ก็มีแนวโน้มเดียวกัน คือมันจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่เดินไปยังด้านลึก การที่สัตว์เป็นเช่นนี้ดูเหมือนว่าไม่สามารถหาคำตอบที่ชัดเจนได้ว่า องค์ประกอบที่ทำให้มันรับรู้ระยะทาง และความลึกได้เป็นเพราะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากการเรียนรู้ (ลูกแพะเกิดใหม่บนภูเขา อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ต้องเสี่ยงภัยอันตรายการตกที่สึก ๆ) คำตอบดูเหมือนว่ามันจะร่วมกันทั้งสองประการ ( Hochberg, 1978 อ้างจาก Kagan and Segal, 1991 : 143) แต่ที่เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือต่อไปนี้
การรับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือต่อไปนี้
1. กล้ามเนื้อตา (Eye muscles)
เมื่อมองวัตถุโดยใช้ตาทั้งสองข้างกล้ามเนื้อตาจะทำหน้าที่ควบคุมลูกนัยน์ตาดำให้สู่เข้าหากันไปสู่ยังวัตถุที่กำลังมองเห็น ในเวลาเดี่ยวกันนี้กล้ามเนื้อที่ควบคุมรูปร่างของเลนซ์ตาจะปฏิบัติการเพื่อให้การมองเห็นวัตถุนั้นมีความชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งการปฏิบัติการดังที่ว่าเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแทบจะไม่รู้ตัว และหลังจากนี้กล้ามเนื้อตาก็จะนำวัตถุ (ข้อมูล) ที่นัยน์ตามองเห็นส่งไปยังสมอง เมื่อสมองรับมาก็จะมีการจัดการโดยรวบรวมเอาข้อมูล
อื่น ๆ มาผสมผสาน เพื่อช่วยให้เกิดการกำหนดระยะทางและ
ความลึกได้ดีขึ้น
2. การเห็นโดยใช้นัยน์ตาสองข้าง (Binocular vision)
โดยหลักความจริงนัยน์ตาทั้งสองข้างจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ แตกต่างกัน เนื่องจากระยะห่างระหว่างนัยน์ตาทั้งสองข้างจะมีระยะห่างกันประมาณ 64 มิลลิเมตร หรือ 2.5 นิ้ว เปรียบเหมือนกับเลนส์ทั้งสองของกล้องถ่ายรูปสามมิตินั่นเอง ฉะนั้นเมื่อนัยน์ตามองสิ่งหนึ่งจะเห็นสิ่งนั้นเป็นมุมต่างกันเล็กน้อย โดยวัตถุที่นัยน์ตาได้รับมานี้จะมีสมองจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ออกมาในรูปแบบของสามมิติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่มีต่อการรับรู้ความลึกและระยะทาง
3. การซ้อนกัน (Introposition)
เป็นเงื่อนไขการรับรู้ระยะทางที่วัตถุอยู่ใกล้จะบังวัตถุที่อยู่ไกล ถ้ามีเด็กคนหนึ่งยืนอยู่หน้าต้นไม้ต้นหนึ่ง เราจะมองเห็นเด็กคนนั้นได้ทั้งตัว ซึ่งจัดว่าเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ สำหรับต้นไม้จะมองเห็นเพียงบางส่วน ซึ่งจัดว่าอยู่ไกลออกไป การซ้อนกันเป็นเงื่อนไขการรับรู้ที่สำคัญที่จะใช้ในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการใช้นัยน์ตา
4. ความลึกซึ้งที่ปรากฎแก่สายตา (Perspective)
เป็นการมองเกี่ยวกับระยะทางซึ่งจิตรกรได้ใช้หลักการนี้มานานหลายศตวรรษ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับการเขียนภาพสามมิติบนพื้นราบโดยทั่วไป แบ่งได้เป็น
4.1 การปรากฏโดยใช้แนวเส้น (Linear perspective) เป็นการเสนอภาพโดยใช้เส้นแสดงให้เห็นความใกล้ไกล อย่างเช่น ความจริงที่บุคคลรับรู้เส้นขนาน เมื่อมองไกลออกไปปลายจะสู่เข้าหากัน รางรถไฟก็ทำนองเดียวกัน
4.2 การปรากฏเชิงบรรยากาศ (Aerial perspective) เป็นการเสนอภาพการเห็นระยะของวัตถุโดยใช้สภาพของบรรยากาศ ดังเช่นที่เราเห็นวัตถุนั้นอยู่ใกล้เนื่องจากภาพของบรรยากาศมีสีสันชัดเจน และเห็นว่าวัตถุนั้นอยู่ไกล เพราะสีสันแสดงบรรยากาศมัวลงไป เป็นต้น
5. การแสดงรายละเอียด (Gradient of texture)
จะนับว่าเป็นแบบที่สามของความลึกซึ่งที่ปรากฏแก่สายตา (perspective) ก็ได้ ซึ่งรายละเอียดที่ปรากฏจะทำให้บุคคลสังเกตและมองเห็นสิ่งต่าง ๆ แผ่กว้างไปรอบบริเวณนั้น ๆ มากขึ้น การมองเห็นความใกล้ไกลก็จะชัดเจนมากยิ่งขึ้น
6. การแสดงเงา (Shadowing)

หรืออาจเรียกว่ารูปแบบของแสงและเงา (light and shadow) ของวัตถุที่มองเห็น ซึ่งจะช่วยให้บุคคลเกิดการรับรู้เกี่ยวกับระยะทางและความลึกดังจะเห็นภาพรูปทรงสี่เหลี่ยมแสงและเงาเป็นตัวทำให้มองเห็นความลึก หรือรูปวงกลมที่เราเห็น เมื่อมีแสงและเงามาเกี่ยวข้องในระดับที่มีความเข้มจางกลมกลืนกันจะทำให้เห็นเป็นรูปทรงกลม

website templates.