ก่อนหน้า2/2ถัดไป

บทที่5 เรื่องSoftware Process  Model

ประโยชน์ของการ Incremental Model

- แต่ละส่วนมี Feedback สามารถนำมาปรับปรุงครั้งต่อไป
- Requirement ไม่สำคัญหรือไม่จำเป็นจะถูกตัดออก เพื่อให้การพัฒนา ง่ายและรวดเร็วขึ้น
-  ทำให้ Cash Flow และ Return of Investment ดีขึ้น
-  สามารถควบคุมดูแลจัดการได้ง่าย
-  ในขณะทำ ถ้ามีงานอื่นมาแทรก สามารถหยุด Project บางจุดได้

วัตถุประสงค์ของ Incremental Model
เน้นเรื่อง Process และคุณภาพ  ซึ่งต้องวัดได้ เช่น ความน่าเชื่อถือ , การยอมรับ , ความปลอดภัย

DSDM  (Dynamic Systems Development Method)

เป็นวิธีการที่นำ Model แบบ  JAD และ  Walerfall  มาใช้  เน้นเรื่องคุณภาพ   โดย Implement ระบบอย่าง

มีคุณภาพและรวดเร็ว

  หลัก DSDM

  นำ user ที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันคิดและช่วยกันทำ
  Workgroup มีอำนาจตัดสินใจได้
  เน้น Implement ระบบค่อนข้างถี่
  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และมีคุณภาพ
  สามารถแก้ปัญหาได้
  ย้อนกลับไปแก้ไขได้
  เน้น Requirement ที่สำคัญก่อน
 

Test ทุก Phase

Structured System Analysis and Design Methodology (SSADM)

•SSADM  เริ่มใช้ปี 1981  จะใช้แบบจำลองที่เป็นแผนภาพเพื่ออธิบายขั้นตอนการทำงานและข้อมูลทั้งหมดของ

ระบบ โดยเรียกวิธีการใช้แผนภาพเพื่อจำลองขั้นตอนการทำงานหลักของระบบว่า “Process-Center Approach” และเรียกวิธีการใช้แผนภาพเพื่อจำลองข้อมูลของระบบว่า “Data-Center Approach”
เอามาใช้ร่วมกับ RAD   Version ใหม่ คือ SSADM 4.2

•รูปแบบของ  SSADM คล้ายกับ SDLC  ตัดส่วนของ Programing , Implement + Maintenance และ Testing ออก
•หลักการ คือนำ 3 เรื่องต่อไปนี้มาใช้ 
–Structural Standard
–Technique Guides
–Document Standard

ข้อดี ของ SSADM ในรูปแบบของ SDLC Waterfall Model คือ สามารถรวบรวมความต้องการจากผู้ใช้ได้เป็นระยะเวลานานก่อนที่จะเริ่มเขียนโปรแกรม และการเปลี่ยนแปลง

ความต้องการมีน้อย เนื่องจากก่อนที่จะถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ข้อมูลต่าง ๆ ที่วิเคราะห์มานั้นจะต้องได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากเจ้าของระบบก่อน จึงจะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการ

เขียนโปรแกรมได้หมายความว่าข้อมูลทุกอย่างที่วิเคราะห์และออกแบบมานั้นจะต้องตรงตามความต้องการของ

ผู้ใช้และเจ้าของระบบมากที่สุด

ข้อเสีย จะใช้เวลานานมากในขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ และการออกแบบต่าง ๆ จะร่างลงบนกระดาษ ซึ่งผู้ใช้หรือเจ้าของระบบไม่สามารถทดลองใช้งานได้ จึงอาจจะทำให้ไม่ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งผลให้อาจเกิดปัญหาในระหว่างขั้นตอนการเขียนโปรแกรมได้

Extreme Programming (XP)

จุดเด่น   

XP เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการผลิตซอฟต์แวร์

เป็นการพัฒนาแบบ Lightweight Methodology  คือการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยมีกฎและวิธีการในการพัฒนา

น้อยเท่าที่จำเป็น

 สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้ใช้ได้ แม้ในช่วง 

      หลังของวงจรการผลิตซอฟต์แวร์

  ลดงบประมาณในการผลิตซอฟต์แวร์
  พบ Bugsได้เร็วกว่าวิธีอื่น  เนื่องจากมีการทดสอบตั้งแต่เริ่มแรก และลูกค้า

       สามารถมองเห็นได้

 

ใช้เทคนิค Pair  Programming

หลักในการทำงานของ  XP  ประกอบด้วย 4 ข้อ  คือ

Communication  ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องสื่อสารกับลูกค้า   
Simple ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต้องออกแบบโปรแกรมให้ง่าย

Feedback ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต้องทำให้ลูกค้า มี Feedback โดยจะทำการทดสอบโปรแกรมตั้งแต่เริ่ม

พัฒนาซอฟต์แวร์

Courage  ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ดำเนินการแก้ไขซอฟต์แวร์ ตามความต้องการของลูกค้า

 

 

 

 

 

 

 

website templates.