บทที่2 เรื่อง Project  Planning

Project  Planning  มี  10  ขั้นตอน  ดังนี้
ขั้นตอนที่  0  คือ  Select  Project  เป็น  ขั้นตอนศึกษาความเป็นไปได้ว่าควรทำหรือไม่   ถ้าไม่คุ้มค่าจะไม่ทำ แต่ถ้าคุ้มค่าจึงจะทำในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่  1    คือ   Identity  Project  scope และ Objective เป็นการกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของ  Project  ให้ชัดเจน  เช่น  วัตถุประสงค์เพื่ออะไร , กำหนด Project Board, Project  Manager, Project Team, วิเคราะห์ผู้เกี่ยวข้องมีใครบ้าง ,  กำหนดการติดต่อประสานเรื่องคน  เวลา  สถานที่
ขั้นตอนที่ 2 คือ  Identity  Project  Infrastructure เป็นการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานของ Software Project เช่น Project สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์หรือไม่  กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน  และมาตรฐานของการทำ Software Project  กำหนดเครื่องมือที่จะใช้วัด  กำหนดแผนเพื่อควบคุมมาตรฐาน  และการได้มาซึ่ง Project  Team
ขั้นตอนที่  3 คือ Analysis  Project  Characteristies   เป็นการวิเคราะห์คุณสมบัติของ Project  ว่าเน้นวัตถุประสงค์ หรือ  Product, คุณภาพ เน้น System  หรือ Process หรือความปลอดภัยวิเคราะห์ความเสี่ยงหลักที่จะมีผลกระทบต่อ  Project เช่น  คน , เวลา, เลือกวิธีในการพัฒนาระบบ ,พิจารณาต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง  เช่น  Hardware, Software

ขั้นตอนที่  4 Identity  the  Product  and  Activity  เป็นขั้นตอนกำหนดรายละเอียดของ Software Project และงาน/กิจกรรม  โดยต้องวิเคราะห์มีงานหรือกิจกรรมย่อยทั้งหมดอะไรบ้าง เช่น  ใช้  Project Break-Down (PBD)  เพื่อดูว่ามี  Activity  อะไรบ้าง  ควรกระจายเป็นงานย่อย ๆ  เพื่อสามารถกำหนดเป็นระยะเวลาในการทำงานและ  กำหนดทรัพยากรต่าง ๆ  ได้  โดยนำกิจกรรมต่าง ๆ มาเขียนในรูปของ  Activity  Network

ขั้นตอนที่  5 Estimate  Effort  for  Activity    พิจารณากำลังพลแต่ละกิจกรรม/งาน  โดยการศึกษาว่าแต่ละกิจกรรม/งานใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง เช่น คน , เงิน, Hardware,Software ฯลฯ จะทำให้ทราบว่าทั้ง Project ใช้งบประมาณ / ทรัพยากร  ทั้งหมดเท่าใด  ควรเป็นการพิจารณาแบบล่าง ®  บน  (Bottom – up)  จุดนี้  สามารถนำไปวิเคราะห์ความต้องการเพิ่ม/ลดทรัพยากร ต่าง ๆ ได้  และควรมีการ  Revise  Plan  ใหม่  เพื่อปรับปรุง  Activity  ให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่  6 Identity  Activity  Risks    เป็นการพิจารณาเรื่องความเสี่ยง  ขั้นตอน 6  อาจทำก่อนขั้นตอน 5 ได้    ขั้นนี้จะวิเคราะห์ว่าแต่ละกิจกรรมมีความเสี่ยงหลัก ๆ อะไรบ้าง  และกำหนดแผนรองรับความเสี่ยงเหล่านั้น   เช่น  ไฟไหม้  วินาศกรรม เป็นต้น ความเสี่ยงหลักของ Software Project คือ คน  
การ Revise  Plan อาจทำให้เกิด  Risk  ใหม่  จึงควรพิจารณาให้รอบคอบ
ขั้นตอนที่  7  Allocate  resource  การยืนยันทรัพยากรที่จะใช้ใน Project เช่น  การยืนยันของบุคลากรที่จะมาทำงาน    Project Manager  ต้องพิจารณาให้เหมาะสม  เช่น  วันเวลาที่จะทำงานร่วมกัน อาจมีการ  Revise  Plan  ทุก Step  เพื่อตัดปัญหาต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง
ขั้นตอนที่  8   Review  Publieings  Plan    เมื่อใช้แผนไประยะหนึ่ง  ถ้าเกิดความล่าช้าควรจะ  Revise  Planใหม่  เพื่อให้เสร็จตามกำหนด
ขั้นตอนที่  9   Execute  Plan  กำหนดเป็นแผนโดยละเอียด 

ขั้นตอนที่  10  Lower  Level  ถ้าไม่เป็นไปตามแผน กลับไปพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนที่ 4

การศึกษาความเป็นไปได้  แบ่งเป็น  3 ด้าน
1.Economic  Feasibility   เป็นการวิเคราะห์  Cost กับ  Benefit  คุ้มค่าหรือไม่ 
Cost แบ่งเป็น  2  ประเภท  ได้แก่
- Tangible  Cost เช่น  ต้นทุนค่า Hardware, Software, เงินเดือน  ค่าจ้าง ค่า Installation  ค่า implement  ค่า Maintenance  เป็นต้น
- Intangible Cost  เช่น ความไม่พอใจของพนักงาน ,  การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
2.Technical Feasibility    เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค  เช่น 
-   สามารถรองรับความต้องการของ  user  ได้หรือไม่
-   Hardware  Software - สามารถนำมาใช้กับ
         ระบบใหม่ได้หรือไม่
-   บุคลากร- มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบใหม่ได้หรือไม่
3.Operational  Feasibility
การใช้งาน -  ง่ายต่อการใช้งานหรือไม่
การเรียนรู้  -  ง่ายต่อการเรียนรู้หรือไม่
การบำรุงรักษา – ง่ายต่อการบำรุงรักษาหรือไม่  บริการดีหรือไม่  ค่าใช้จ่ายสูงหรือไม่
ผู้ใช้  -  พอใจหรือไม่
ประสิทธิภาพ  -  ดีหรือไม่

 

 

 

 

website templates.