บทที่15 เรื่องสัญญาประกันภัย

สัญญาประกันภัย
สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ซึ่งตกลงจะใช้ค่า
สินไหมทดแทนหรือจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ เมื่อเกิดภัยในอนาคตแก่ ผู้
เอาประกันภัย ซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้ โดยอาจส่งเงินเป็นงวด
หรือเป็นก้อนก็ได้
ลักษณะของสัญญาประกันภัย
1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน
2. เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขอันไม่แน่นอน
3. เป็นสัญญาที่รัฐควบคุม
ประเภทของสัญญาประกันภัย
1. สัญญาประกันวินาศภัย เป็นสัญญาที่มุ่งชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นอันสามารถคำนวณเป็นเงินได้
2. สัญญาประกันชีวิต เป็นสัญญาที่มุ่งที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้
เอาประกัน หรือผู้มีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันที่ต้องพึ่งพากัน ถ้าผู้เอา
ประกันถึงแก่กรรมลง
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย
1. ผู้รับประกันภัย
2. ผู้เอาประกันภัย
3. ผู้รับประโยชน์
ส่วนได้เสียของสัญญาประกันภัย
สัญญาประกันภัย ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียได้เหตุที่
เอาประกันภัยไว้ ย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญา
คำว่า “ส่วนได้เสีย” หมายถึง เหตุการณ์หรือภัยที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต
หรือทรัพย์สินใดแล้วมีผลกระทบมาถึงบุคคลหนึ่ง ทำให้ได้รับความ
เสียหาย
กรมธรรม์ประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่สัญญาประกันภัย กรมธรรม์
ประกันภัยเป็นเพียงเอกสารซึ่งฝ่ายผู้รับประกันภัยจัดทำขึ้นเพราะที่ได้มี
สัญญาประกันภัยต่อกัน
แบบของสัญญาประกันภัย
สัญญาประกันภัยทั้ง 2 ประเภท กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้อง
ทำตามแบบอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือ
ชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อของตัวแทนฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ มิฉะนั้น
จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
สัญญาประกันวินาศภัย
สัญญาซึ่งผู้รับประกันวินาศภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน
ให้แก่ผู้เอาประกันวินาศภัยในเมื่อมีความเสียหายอย่างใด ๆ รวมถึงความ
สูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์ หรือรายได้ อันสามารถประมาณเป็นเงิน
ได้ ได้เกิดขึ้นโดยผู้เอาประกันวินาศภัยตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่
ผู้รับประกันภัย
สิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย
สิทธิของผู้เอาประกันภัย
1. สิทธิของลดเบี้ยประกันภัย
2. สิทธิที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
3. สิทธิบอกเลิกสัญญา
หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย
1. หน้าที่เปิดเผยความจริง
2. หน้าที่ชำระเบี้ยประกัน
3. หน้าที่บอกกล่าวเมื่อเกิดวินาศภัย
สิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัย
สิทธิของผู้รับประกันภัย
1. สิทธิเรียกเบี้ยประกันภัย
2. สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน
3. สิทธิในการรับช่วงสิทธิ
4. สิทธิในซากทรัพย์
หน้าที่ของผู้รับประกันภัย
1. หน้าที่ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย
2. หน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
3. หน้าที่สำรวจค่าเสียหาย
การปฏิเสธความรับผิดชอบของผู้รับประกันภัย
ผู้รับประกันภัยอาจปฏิเสธความรับผิดได้ ถ้า
1. เหตุวินาศภัยนั้นเกิดขึ้นเพราะความทุจริตหรือความประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
2. เหตุวินาศภัยเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สมประกอบในเนื้อแห่ง
วัตถุที่เอาประกันภัย
อายุความในการเรียกค่าสินไหมทดแทน
ต้องฟ้องเรียกภายใน 2 ปีนับแต่เกิดสิทธิตามสัญญา
สัญญาประกันชีวิต
เป็นสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่งที่มีข้อตกลงใช้เงินจำนวนหนึ่งไว้
ล่วงหน้าเมื่อเกิดกรณีอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ใน 3 ประการ ดังนี้
1. สัญญาประกันชีวิตที่อาศัยความทรงชีพของบุคคล
2. สัญญาประกันชีวิตที่อาศัยความมรณะของบุคคล
3. สัญญาประกันชีวิตที่อาศัยกำหนดเวลา
สิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยชีวิต
สิทธิของผู้เอาประกันภัยชีวิต
1. สิทธิที่จะได้รับเงินจำนวนหนึ่ง
2. สิทธิเรียกร้องจากผู้ที่ก่อมรณภัย
3. สิทธิบอกเลิกสัญญา
4. สิทธิของลดเบี้ยประกันชีวิต
หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยชีวิต
1. หน้าที่เปิดเผยความจริง
2. หน้าที่ชำระเบี้ยประกันชีวิต
เหตุยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันชีวิต
กรณีการใช้เงินเป็นไปตามเหตุมรณะของบุคคลใด ผู้รับประกัน
ชีวิตต้องใช้เงินนั้น เมื่อบุคคลนั้นถึงแก่กรรม เว้นแต่
1. บุคคลนั้นได้ฆ่าตนเองด้วยใจสมัครภายใน 1 ปีนับแต่วันทำ
สัญญา หรือ
2. บุคคลนั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา
อย่างไรก็ตาม ผู้รับประกันภัยต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์
ให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตหรือถ้าผู้ตายเอาประกันชีวิตของตนเอง ก็ให้เงิน
นั้นตกแก่ทายาทของผู้นั้น
อายุความ
เนื่องจากการประกันชีวิตไม่ได้กำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุ
ความ 10 ปี
มาตราที่น่าสนใจ
มาตรา 879 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัย
หรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้น ได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต
หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับ
ประโยชน์
ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความวินาศภัยอันเป็นผล
โดยตรงมาแต่ความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัย
เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น
มาตราที่น่าสนใจ (ต่อ)
มาตรา 895 เมื่อใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของ
บุคคลหนึ่งบุคคลใด ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัย
อันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่
1. บุคคลผู้นั้นได้กระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่ง
นับแต่วันทำสัญญา หรือ
2. บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา
ในกรณีที่ 2 นี้ ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินค่าไถ่ถอน
กรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น

website templates.