บทที่12 เรื่องสัญญาจำนอง

สัญญาจำนอง
สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่
บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดย
ไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
ลักษณะของสัญญาจำนอง
1. เป็นกรณีที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินไปตราไว้แก่ผู้รับจำนองเพื่อ
เป็นการประกันชำระหนี้ของลูกหนี้โดยผู้จำนองอาจเป็นลูกหนี้เองหรือ
เป็นบุคคลภายนอกก็ได้
2. ผู้จำนองเพียงแต่เอาทรัพย์สินไปตราไว้เป็นประกันเท่านั้น ไม่
จำต้องส่งมอบทรัพย์สินจำนองนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
3. ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ที่จะรับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนองก่อน
เจ้าหนี้สามัญ
ลักษณะของสัญญาจำนอง (ต่อ)
4. การโอนทรัพย์จำนองแก่บุคคลภายนอกไม่มีผลกระทบต่อการ
จำนอง ผู้รับจำนองยังสามารถบังคับจำนองกับทรัพย์จำนองนั้นได้
5. สัญญาจำนองเป็นสัญญาอุปกรณ์เพราะเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อ
ประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้
ทรัพย์ที่จำนองได้
1. อสังหาริมทรัพย์
2. สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่จดทะเบียนแล้ว
3. สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้จดทะเบียนเฉพาะ
การ เช่น เครื่องจักรที่ได้มีการจดทะเบียนตาม พรบ. จดทะเบียน
เครื่องจักร พ.ศ. 2514 เป็นต้น
แบบของสัญญาจำนอง
ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่
ทำจะทำให้สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ
วิธีการบังคับจำนอง
1. การเอาทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาด
2. การเอาทรัพย์สินที่จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้รับจำนอง
ต้องการที่จะบังคับจำนองตามวิธีที่ 2 นี้ จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
2.1 ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี
2.2 ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคา
ทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ
2.3 ไม่มีการจำนองไว้กับเจ้าหนี้รายอื่นอีก
ผลของการบังคับจำนอง
การบังคับจำนองนั้นไม่ว่าเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคาทรัพย์
จำนองต่ำกว่าหนี้ที่ค้างชำระหรือเอาทรัพย์จำนองขายทอดตลาด ใช้หนี้
ได้เป็นเงินสุทธิน้อยกว่าหนี้ที่ยังขาดอยู่ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด
ข้อสังเกตุ ถ้ามีการตกลงกันไว้ว่า ไม่ว่าจะใช้วิธีบังคับจำนองตาม
วิธีที่ 1 (การเอาทรัพย์สินขายทอดตลาด) หรือวิธีที่ 2 (การเอาทรัพย์
จำนองหลุด) ถ้าได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้จะต้องรับผิดในส่วนที่ขาด
ข้อตกลงดังกล่าวนี้ ใช้บังคับได้
ความระงับแห่งสัญญาจำนอง
1. เมื่อหนี้ประกันระงับสิ้นไป
2. เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ
3. เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น เมื่อเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้จากผู้
จำนอง โดยไม่มีเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้
4. เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาลอันเนื่อง
มาแต่การบังคับจำนอง
5. เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์
มาตราที่น่าสนใจ
มาตรา 728 เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมาย
บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่ง
กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำ
บอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึด
ทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้
มาตรา 729 นอกจากทางแก้ดังบัญญัติไว้ในมาตราก่อนนั้น ผู้รับ
จำนอง ยังชอบที่จะเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดได้ ภายในบังคับแห่ง
เงื่อนไข ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี
2. ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคาทรัพย์สินนั้น
ท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ
3. ไม่มีการจำนองไว้กับเจ้าหนี้รายอื่นอีก

website templates.